Custom Search
----------------------------------------------- Blogger Template Style Name: Stretch Denim Designer: Darren Delaye URL: www.DarrenDelaye.com Date: 11 Jul 2006 ----------------------------------------------- */ /* Variable definitions ==================== */ body { background: #efefef; margin: 0; padding: 0px; font: x-small Verdana, Arial; text-align: center; color: #333333; font-size/* */:/**/small; font-size: /**/small; } a:link { color: #cc0000; } a:visited { color: #cc0000; } a img { border-width: 0; } #outer-wrapper { font: normal normal 108% Arial, sans-serif; } /* Header ----------------------------------------------- */ #header-wrapper { margin:0; padding: 0; background-color: #11593C; text-align: left; } #header { margin: 0 2%; background-color: #1B703A; color: #efefef; padding: 0; font: normal normal 325% Verdana, sans-serif; position: relative; } h1.title { padding-top: 38px; margin: 0 1% .1em; line-height: 1.2em; font-size: 100%; } h1.title a, h1.title a:visited { color: #efefef; text-decoration: none; } #header .description { display: block; margin: 0 1%; padding: 0 0 40px; line-height: 1.4em; font-size: 50%; } /* Content ----------------------------------------------- */ .clear { clear: both; } #content-wrapper { margin: 0 2%; padding: 0 0 15px; text-align: left; background-color: #ffffff; border: 1px solid #cccccc; border-top: 0; } #main-wrapper { margin-left: 1%; width: 64%; float: left; background-color: #ffffff; display: inline; /* fix for doubling margin in IE */ word-wrap: break-word; /* fix for long text breaking sidebar float in IE */ overflow: hidden; /* fix for long non-text content breaking IE sidebar float */ } #sidebar-wrapper { margin-right: 1%; width: 29%; float: right; background-color: #ffffff; display: inline; /* fix for doubling margin in IE */ word-wrap: break-word; /* fix for long text breaking sidebar float in IE */ overflow: hidden; /* fix for long non-text content breaking IE sidebar float */ } /* Headings ----------------------------------------------- */ h2, h3 { margin: 0; } /* Posts ----------------------------------------------- */ .date-header { margin: 1.5em 0 0; font-weight: normal; color: #999999; font-size: 100%; } .post { margin: 0 0 1.5em; padding-bottom: 1.5em; } .post-title { margin: 0; padding: 0; font-size: 125%; font-weight: bold; line-height: 1.1em; } .post-title a, .post-title a:visited, .post-title strong { text-decoration: none; color: #333333; font-weight: bold; } .post div { margin: 0 0 .75em; line-height: 1.3em; } .post-footer { margin: -.25em 0 0; color: #333333; font-size: 87%; } .post-footer .span { margin-right: .3em; } .post img { padding: 4px; border: 1px solid #cccccc; } .post blockquote { margin: 1em 20px; } .post blockquote p { margin: .75em 0; } /* Comments ----------------------------------------------- */ #comments h4 { margin: 1em 0; color: #999999; } #comments h4 strong { font-size: 110%; } #comments-block { margin: 1em 0 1.5em; line-height: 1.3em; } #comments-block dt { margin: .5em 0; } #comments-block dd { margin: .25em 0 0; } #comments-block dd.comment-footer { margin: -.25em 0 2em; line-height: 1.4em; font-size: 78%; } #comments-block dd p { margin: 0 0 .75em; } .deleted-comment { font-style:italic; color:gray; } .feed-links { clear: both; line-height: 2.5em; } #blog-pager-newer-link { float: left; } #blog-pager-older-link { float: right; } #blog-pager { text-align: center; } /* Sidebar Content ----------------------------------------------- */ .sidebar h2 { margin: 1.6em 0 .5em; padding: 4px 5px; background-color: #ffd595; font-size: 100%; color: #333333; } .sidebar ul { margin: 0; padding: 0; list-style: none; } .sidebar li { margin: 0; padding-top: 0; padding-right: 0; padding-bottom: .5em; padding-left: 15px; text-indent: -15px; line-height: 1.5em; } .sidebar { color: #333333; line-height:1.3em; } .sidebar .widget { margin-bottom: 1em; } .sidebar .widget-content { margin: 0 5px; } /* Profile ----------------------------------------------- */ .profile-img { float: left; margin-top: 0; margin-right: 5px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0; padding: 4px; border: 1px solid #cccccc; } .profile-data { margin:0; text-transform:uppercase; letter-spacing:.1em; font-weight: bold; line-height: 1.6em; font-size: 78%; } .profile-datablock { margin:.5em 0 .5em; } .profile-textblock { margin: 0.5em 0; line-height: 1.6em; } /* Footer ----------------------------------------------- */ #footer { clear: both; text-align: center; color: #333333; } #footer .widget { margin:.5em; padding-top: 20px; font-size: 85%; line-height: 1.5em; text-align: left; } /** Page structure tweaks for layout editor wireframe */ body#layout #header { width: 750px; } -->

20 สิงหาคม 2552

ข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://www.ryt9.com/tag/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์/rssfeed.xml

27 มกราคม 2552

สศก.ลงพื้นที่ ศึกษาศักยภาพปลานิลไทยเพื่อรองรับตลาดโลก

  นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันความต้องการปลานิลในตลาดโลกยังสูงมาก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ขณะที่ความต้องการบริโภคปลานิลภายในประเทศก็ยังเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ทำให้ปริมาณการส่งออกลดลง ประกอบกับการส่งออกยังมีข้อจำกัดที่จะต้องไม่มีกลิ่นโคลน จึงจะเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ สศก. จึงได้ลงพื้นที่ทำการศึกษาศักยภาพการผลิตและการจลาดของปลานิล เพื่อหาช่องทางในการขยายตลาดให้มากขึ้นในอนาคต และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง 
         โดยผลการศึกษา พบว่า การเลี้ยงปลานิลของเกษตรกร มี 2 แบบ คือ การเลี้ยงปลานิลในกระชัง และการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน โดยการเลี้ยงปลานิลในกระชังมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกระชังละ 24,713 บาท ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.64 บาท และมีกำไรกิโลกรัมละ 8.34 บาท  สำหรับการเลี้ยงในบ่อดิน มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 20,975 บาท ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.11 บาท และมีกำไรกิโลกรัมละ 5.26 บาท   
         ด้านนางนารีณัฐ  รุณภัย รองเลขาธิการและรองโฆษก สศก.  เปิดเผยถึงการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค พบว่า จุดแข็ง คือ ปลานิลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงง่าย และมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ขยายพันธุ์ได้เร็ว พ่อแม่พันธ์ได้รับการพัฒนาและมีปริมาณเพียงพอ มีเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจร ตลอดจนมีระบบการเลี้ยงที่มีมาตรฐาน   ด้านจุดอ่อน คือ  มีต้นทุนการผลิตสูงโดยเฉพาะค่าอาหาร ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินมีปัญหาเรื่องของกลิ่นโคลน ปลาที่ผลิตได้ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศยังมีน้อย ขาดการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในรูปของสหกรณ์ และขาดการจัดการที่ดีทำให้ปลาเกิดโรค อีกทั้งพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาและปริมาณการซื้อ ด้านโอกาส คือ มีตลาดรองรับกว้างขวางทั่วโลกทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และเอเชีย และสามารถส่งออกในลักษณะของปลาแล่เนื้อ มีคู่ค้าที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอิตาลี ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น จีน ผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐาน จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะได้ส่วนแบ่งของตลาดเพิ่มขึ้น  ขณะที่อุปสรรค สำคัญคือ คู่แข่ง โดยเฉพาะจีน ที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และมีศักยภาพการผลิตที่มากกว่า รวมถึงประเทศผู้ผลิตในแถบลาตินอเมริกา เช่น เอกวาดอร์ ซึ่งอยู่ใกล้ตลาดใหญ่ ทั้งยุโรป และสหรัฐอเมริกา ทำให้ได้เปรียบด้านต้นทุนการขนส่ง 
         ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ  ได้เร่งวิจัย ศึกษา และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์ เพื่อลดปัญหาต้นทุนและกลิ่นโคลน ให้พันธุ์มีลักษณะดีตามความต้องการของตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง ปรับปรุงระบบเพาะเลี้ยง พัฒนาตลาดในเชิงรุก พัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการกระจายสินค้า และการเก็บรักษาปลานิลภายหลังเก็บเกี่ยวรวมถึงแปรรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดต่อไปในอนาคต 

         --สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร-- ศุกร์ที่ 23 มกราคม 2009 13:46:31 น.

23 กันยายน 2551

ตลาดกลางสินค้าเกษตร


http://www.talaadthai.com/price/






ราคาสินค้าเกษตรและตลาดทั้งในประเทศต่างประเทศ


สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร -- พุธที่ 13
สิงหาคม 2008 .


สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดการณ์ภาพรวมสินค้าเกษตรปี
51 จะเพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรหลายชนิดมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี
ทั้งหมวดพืชอาหาร พืชน้ำมัน ไม้ผล ไม้ยืนต้น และปศุสัตว์ เผยข้าวหอมมะลิ
ข้าวเจ้านาปี นาปรัง
ยังนำทีมสินค้าหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญเช่นเดิม


การที่ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นนี้มีทั้งผลดีและผลเสีย กล่าวคือ เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้มากขึ้น ประเทศมีรายได้เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าเกษตร อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคก็จะต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้น การบริหารจัดการเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุดจึงทำได้ไม่ง่ายนัก
ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งคาดการณ์ว่า ในอนาคตโลกอาจเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารเนื่องจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ควบคู่กับวิกฤติพลังงานและภาวะโลกร้อนที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น วิกฤตการณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงกว่าในปัจจุบันหากประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนาทั้งผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรไม่สามารถเตรียมรับมือได้ทันท่วงที ในภาวะที่ผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกมีอยู่จำกัดและส่งผ่านราคาไปยังสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นจนเกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก อุปสรรคทางภาษีและมิใช่ภาษีอาจจะไม่ใช่ประเด็นที่น่าวิตกมากนัก เพราะสินค้าที่มีอยู่เพียงน้อยนิดย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเสมอและจูงใจให้ประเทศผู้นำเข้าลดมาตรการกีดกันทางการค้าลง

มาดูราคาสินค้าต่างๆในบ้านเรา ตามลิงค์นี่ก่อนนะครับ


หลักเกณฑ์และวิธีการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์- ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม -

ตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52
_______________________________
1. เป้าหมาย
1.1 ปริมาณรับจำนำข้าวโพดเมล็ด 500,000 ตัน
ทั้งนี้ ผลผลิตที่เกษตรกรสามารถนำมาจำนำ จะต้องเป็นผลผลิตมาจากไร่ของตนเอง และยังเป็น
กรรมสิทธิ์ของเกษตรกรที่เข้าโครงการฯ ในวงเงินไม่เกินรายละ 350,000 บาท
1.2 พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 40 จังหวัด อาทิ เช่น เพชรบูรณ์ นครสวรรค์
กำแพงเพชร พิษณุโลก ตาก อุทัยธานี เชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ลำพูน นครราชสีมา เลย
ชัยภูมิ ลพบุรี สระแก้ว สระบุรี เป็นต้น
2. ราคารับจำนำ
กำหนดราคารับจำนำ ณ จุดรับจำนำของ อคส. ข้าวโพดเมล็ดความชื้นไม่เกิน 14.5% ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง
ธันวาคม 2551 กก.ละ 8.50 บาท สำหรับระดับความชื้นอื่น ให้ปรับเพิ่มลดน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานการหักลด
น้ำหนักเมล็ดข้าวโพดที่มีความชื้นตามที่กำหนด ทั้งนี้ ต้องเป็นข้าวโพดเมล็ดความชื้นไม่เกิน 30% ดังนี้
ความชื้นไม่เกิน
14.5% กก.ละ 8.50 บาท
20.0% กก.ละ 7.44 บาท
25.0% กก.ละ 6.61 บาท
30.0% กก.ละ 5.95 บาท
3. ระยะเวลา
รับจำนำ เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2551
การไถ่ถอน ภายใน 3 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
โครงการ เดือนตุลาคม 2551 – ธันวาคม 2552
ทั้งนี้ มีเงื่อนไขให้เกษตรกรมอบสิทธิในการจำหน่ายข้าวโพดได้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอน โดยให้ อคส.
สามารถจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกได้
4. ผู้มีสิทธิจำนำ
4.1 ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.2 เป็นเกษตรกรรายบุคคลที่มีหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52 ที่ออกโดย
ธ.ก.ส. หรือผู้ที่คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัดกำหนด กรณีที่
ไม่ใช่ลูกค้าสมาชิก ธ.ก.ส.
4.3 ข้าวโพดที่นำมาจำนำต้องเป็นผลผลิตของเกษตรกรผู้จำนำ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของเกษตรกรอยู่
4.4 พื้นที่รับจำนำ เกษตรกรสามารถจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ในพื้นที่จังหวัดที่ตนเองทำการเพาะปลูก และ
จังหวัดที่มีเขตติดต่อกัน กรณีนอกเหนือจากนี้ให้ขอความเห็นชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณี ๆ ไป
2
5. ผู้รับจำนำ
5.1 อคส. รับฝากเก็บและออกใบประทวนให้เกษตรกร
5.2 ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้เกษตรกร
6. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ
6.1 มีไซโลที่ได้มาตรฐานซึ่งมีศักยภาพในการเก็บรักษาข้าวโพดให้มีคุณภาพดี และมีเครื่องอบลดความชื้นหรือ
ลานตากอยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือ
6.2 มีคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บที่แข็งแรงมั่นคงได้มาตรฐานที่จะเก็บรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีคุณภาพดี
และมีเครื่องอบลดความชื้น หรือลานตากอยู่ในบริเวณเดียวกัน
6.3 ต้องไม่เคยกระทำความผิดในการเข้าร่วมโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรกับทางราชการ
7. วิธีการและขั้นตอนดำเนินการ
7.1 เกษตรกร
1) เกษตรกรขอหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ออกโดย ธ.ก.ส. กรณี
เป็นลูกค้าสมาชิก ธ.ก.ส. หรือผู้ที่คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับ
จังหวัดกำหนด กรณีที่มิใช่ลูกค้า ธ.ก.ส.
2) เกษตรกรต้องนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาส่งมอบ ณ จุดรับจำนำของ อคส. ที่กำหนดไว้ในแต่ละจังหวัด
โดยมีผู้แทน อคส. ผู้แทนเกษตรกรและผู้แทนหน่วยราชการที่จังหวัดแต่งตั้งร่วมดูแลการตรวจสอบน้ำหนัก คุณภาพ
และความชื้นให้ถูกต้อง
3) มอบสิทธิในการจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยังไม่พ้นกำหนดไถ่ถอนให้กับ อคส. เพื่อให้ อคส.
สามารถระบายจำหน่ายข้าวโพดทั้งภายในประเทศและส่งออกได้
7.2 อคส.
1) ประกาศรับสมัครและคัดเลือกผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการที่มีศักยภาพ และมีความพร้อมด้านบุคลากร
สถานที่ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
2) กำกับดูแลการตรวจสอบน้ำหนัก คุณภาพ และความชื้นข้าวโพดที่เกษตรกรนำมาฝากเก็บให้ถูกต้อง
3) ออกใบประทวนสินค้าภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่รับมอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และได้รับเอกสาร
ครบถ้วน
4) ควบคุมดูแลการอบลดความชื้นให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ข้าวโพดคงสภาพดีตลอดระยะเวลาที่เก็บ โดย
ให้เข้มงวดเรื่องคุณภาพของข้าวโพดที่ผู้เข้าร่วมโครงการรับฝากเก็บไว้
5) จัดทำรายงานปริมาณรับจำนำประจำวัน โดยมีรายละเอียดแยกแต่ละหน่วยรับจำนำ แจ้งพาณิชย์จังหวัดใน
ฐานะเลขานุการคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด และ
กรมการค้าภายในทุกวัน เพื่อติดตามผลการรับจำนำอย่างใกล้ชิด
6) ให้ อคส. จ้างผู้ช่วยปฏิบัติงาน 1 คน และตัวแทนเกษตรกร 1 คน ประจำแต่ละจุดรับฝาก เพื่ออำนวย
ความสะดวก ดูแลการตรวจสอบคุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การวัดความชื้น และสิ่งเจือปน การชั่งน้ำหนักและวางตัวเป็น
ตัวแทนราชการ เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ตามที่เป็นจริง
3
7.3 ธ.ก.ส.
1) ออกหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้กับลูกค้าสมาชิก ธ.ก.ส.
2) จ่ายเงินกู้ให้เกษตรกรภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ไปยื่นขอจำนำใบประทวนสินค้า วงเงินรายละ
ไม่เกิน 350,000 บาท ตามระเบียบของ ธ.ก.ส.
7.4 ผู้เข้าร่วมโครงการ มีหน้าที่ดังนี้
1) ตรวจสอบคุณภาพ ชั่งน้ำหนัก ตรวจวัดความชื้นและสิ่งเจือปนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรนำมาจำนำ
2) ทำการลดความชื้น เก็บรักษาและดูแลรับผิดชอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งปริมาณและคุณภาพให้คงสภาพดี
ตลอดระยะเวลาที่เก็บรักษา
3) เก็บรักษาข้าวโพดไว้ในไซโล คลังสินค้า สถานที่เก็บตามที่ระบุในสัญญาเท่านั้น
4) ปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตลอดจนสัญญาที่ทางราชการกำหนด
8. การไถ่ถอน
เกษตรกรสามารถไถ่ถอนได้ภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ โดยเกษตรกรต้องชำระเงินต้น
พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ของยอดวงเงินที่จำนำแก่ ธ.ก.ส. และจะต้องชำระค่าใช้จ่ายให้แก่ อคส. เช่น
ค่าฝากเก็บ ค่าแรงงาน ฯลฯ นับตั้งแต่วันรับฝากจนถึงวันที่รับคืนสินค้า โดยให้ไถ่ถอนทั้งจำนวนตามที่ระบุไว้ใน
ใบประทวน ในกรณีที่เกษตรกรมาไถ่ถอน ถ้าราคาตลาด ณ วันที่ไถ่ถอนเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาที่ อคส. จำหน่าย
ไปแล้ว เกษตรกรไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าราคาตลาดสูงกว่าราคาที่ได้จำหน่ายไปแล้ว ทางราชการจะต้องคืน
เงินส่วนที่เกินเมื่อหักดอกเบี้ยร้อยละ 3 ค่าใช้จ่ายในการจำนำ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่เกิดขึ้นจริงให้เกษตรกร
9. ค่าใช้จ่ายในการรับจำนำ
ค่าใช้จ่ายในการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ค่าอบลดความชื้น ค่าฝากเก็บ ค่าใช้จ่ายในการรับฝากเก็บและ
ออกใบประทวนตามที่เกิดขึ้นจริง ค่า Overhead ของ อคส. ค่าขนส่ง เป็นค่าจ้างบรรทุกข้าวโพดจาก จุดรับจำนำไปยัง
โกดังกลางที่ อคส.กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ นำเข้าเก็บกรณีจำเป็น ค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธ.ก.ส. ค่าใช้จ่ายใน
การออกหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ธ.ก.ส. และค่าใช้จ่ายในการ
เพิ่มประสิทธิภาพการรับจำนำ การประชาสัมพันธ์และติดตามกำกับดูแลของกรมการค้าภายในและจังหวัด ตามความ
จำเป็นและเหมาะสมตามที่เกิดขึ้นจริง โดยให้ถัวจ่ายได้ โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
10. การกำกับดูแลและการตรวจสอบการรับจำนำ
10.1 ให้กรมการค้าภายในเป็นศูนย์ประสานการรับจำนำกับ อคส. ธ.ก.ส. จังหวัด และกำกับดูแล ตรวจสอบ
ติดตามและประสานการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับจำนำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง รวบรวม
ประมวลผล และรายงานข้อมูลผลการดำเนินการในภาพรวม
10.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะรองประธานกรรมการ คชก. เป็นผู้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์
เงื่อนไข วิธีดำเนินโครงการ ตลอดจนผ่อนผันหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีดำเนินโครงการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติ
10.3 ให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ
กำกับดูแลให้การรับจำนำเป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้อง และไม่ให้มีการสวมสิทธิเกษตรกร รวมทั้งแต่งตั้งผู้แทน
หน่วยราชการประจำจุดรับฝากทุกจุด
4
10.4 ให้กระทรวงพาณิชย์จัดสายตรวจพิเศษและเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปตรวจสอบกำกับดูแลเป็นประจำ
อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการตรวจสอบและกำกับดูแลของคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด
10.5 ให้ อคส. ธ.ก.ส. ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติเข้มงวดกวดขันและวางระบบการตรวจสอบการรับจำนำ
ให้สามารถป้องกันการรั่วไหลในการรับจำนำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่
อย่างชัดเจน และกำกับดูแลการออกใบประทวนและการจ่ายเงินของ ธ.ก.ส. ให้ได้ภายใน 6 วันทำการ นับแต่วันที่
เกษตรกรนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาจำนำ
10.6 ให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ (Surveyor) สุ่มตรวจสอบ การฝากเก็บข้าวโพดไว้กับผู้เข้าร่วมโครงการเป็น
ครั้งคราว เพื่อตรวจสอบคุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ส่งมอบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
10.7 ให้เจ้าหน้าที่ อคส. ประจำจุดรับฝากมีหน้าที่ตรวจสอบ และรับผิดชอบปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่
ผู้เข้าร่วมโครงการให้การรับรองคุณภาพ กรณีที่มีการส่งมอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่ อคส. กำหนด
จะต้องมีเจ้าหน้าที่ อคส. กำกับดูแลรับผิดชอบปริมาณ และคุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ส่งมอบร่วมกับผู้เข้าร่วม
โครงการ
11. การประชาสัมพันธ์
ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับทราบมาตรการรับจำนำ
โดยทั่วถึง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับประโยชน์จากการรับจำนำ และป้องปรามมิให้มีการ
สวมสิทธิ รวมทั้ง ช่วยให้ระดับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในท้องตลาดปรับตัวดีขึ้น
12. การระบายจำหน่าย
ให้กรมการค้าภายใน อคส. และ ธ.ก.ส. พิจารณาปริมาณ ราคา หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการระบาย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะรองประธานกรรมการ คชก. และ
รายงานให้คณะกรรมการ คชก. ทราบต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อ อคส.ได้จำหน่ายและส่งมอบข้าวโพดที่รับจำนำเรียบร้อยแล้ว กรณีมีผลกำไรให้ส่งคืน
เป็นรายได้แผ่นดิน แต่หากมีผลขาดทุนจากผลต่างของราคาที่รับจำนำกับราคาที่จำหน่ายได้ ให้ อคส.ประสานกับ
สำนักงบประมาณเพื่อขอจัดสรรงบประมาณประจำปีชดเชยให้แก่ อคส.ต่อไป
_____________________________
สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน
พฤศจิกายน 2551